ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยพะเยา มีลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบเขตร้อน โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งพัดความเย็นจากประเทศจีนทำให้อากาศเย็นและแห้งแล้ง ส่วนมรสุมตะวันออกเฉียงใต้จะพัดเอาไอน้ำและความชื้นทำให้ฝนตกโดยทั่วไป อุณหภูมิโดยเฉลี่ยสูงสุด 36.6 องศาเซลเซียส ในเดือนเมษายน และค่าอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 11.3 องศาเซลเซียสในเดือนธันวาคม และมีปริมาณฝนตกเฉลี่ยสูงสุด 1,288 มิลลิเมตรต่อปี
EC 1a Energy efficient appliances usage
การใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพ โดยงานสิ่งแวดล้อม กองอาคารสถานที่ ได้ดำเนินการสำรวจปริมาณหลอดไฟแสงสว่าง อุปกรณ์ไฟฟ้า และเครื่องปรับอากาศภายในมหาวิทยาลัยพะเยา ดังแสดงในตารางที่ 7
ตารางที่ 7 ปริมาณหลอดไฟแสงสว่าง อุปกรณ์ไฟฟ้า และเครื่องปรับอากาศภายในมหาวิทยาลัยพะเยา
ทั้งนี้ หลอดไฟฟ้าแสงสว่างภายในมหาวิทยาลัยพะเยาได้ดำเนินการเปลี่ยนหลอดชนิด T5 และ LED ในบางพื้นที่เพื่อช่วยในการประหยัดพลังงาน รวมถึงเครื่องปรับอากาศของมหาวิทยาลัยมีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ซึ่งมหาวิทยาลัยพะเยา ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมประมาณการใช้ไฟฟ้าของมหาวิทยาลัยพะเยาย้อนหลัง 5 ปี ตั้งแต่ปี 2554 – 2558
ดังแสดงในภาพที่ 6 และปริมาณการใช้ไฟฟ้ารายเดือนของมหาวิทยาลัยพะเยาปีงบประมาณ 2558 ดังแสดงในภาพที่ 7
ภาพที่ 6 ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของมหาวิทยาลัยพะเยา ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2554 - 2558
ภาพที่ 7 ปริมาณการใช้ไฟฟ้ารายเดือนของมหาวิทยาลัยพะเยาปีงบประมาณ 2558
EC 1b Smart building program implementation
การดำเนินโครงการอาคารอัจฉริยะนั้น มหาวิทยาลัยพะเยาได้รับงบประมาณในการจัดสร้างอาคารควบคุมระบบ Smart grid ซึ่งดำเนินงานโดยวิทยาลัยพลังงานและสิ่งแวดล้อม รายละเอียดแสดงไว้ในรายงานการประเมินตนเอง การประกันคุณภาพการศึกษา CUPT QA (Self - Assessment Report, SAR) ของวิทยาลัยพลังงานและสิ่งแวดล้อม
EC 2 Renewable energy usage policy
มหาวิทยาลัยพะเยายังไม่มีนโยบายการใช้พลังงานทดแทนอย่างเป็นรูปธรรม แต่มีการส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานทดแทนในภาคส่วนต่างๆ เช่น
1. โครงการ Campus Power on Smart Grid มหาวิทยาลัยพะเยา ของวิทยาลัยพลังงานทดแทน ซึ่งรายละเอียดแสดงไว้ในรายงานการประเมินตนเอง การประกันคุณภาพการศึกษา CUPT QA (Self - Assessment Report, SAR) ของวิทยาลัยพลังงานและสิ่งแวดล้อม
2. โครงการ “บ้านที่ใช้พลังงานน้อยหรือเท่ากับศูนย์ (Net Zero Energy House)” สำหรับการดำเนินเป็นอาคารต้นแบบเพื่อการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งรายละเอียดแสดงไว้ในรายงานการประเมินตนเอง การประกันคุณภาพการศึกษา CUPT QA (Self - Assessment Report, SAR) ของคณะวิศวกรรมศาสตร์
EC 3 Total electricity use/total people
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อประชากรมหาวิทยาลัยพะเยา จากข้อมูลพบว่าอัตราการเพิ่มประชากรของมหาวิทยาลัยพะเยามีปริมาณ (ร้อยละ 7.34) ซึ่งมากกว่าอัตราการใช้พลังงาน (ร้อยละ 5.14) ปริมาณร้อยละ 2.20 โดยใช้ข้อมูลของปี 2557 เป็นฐานข้อมูล
ภาพที่ 8 ปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อจำนวนประชากร มหาวิทยาลัยพะเยา
EC 4 Energy conservation program
โครงการอนุรักษ์พลังงานในมหาวิทยาลัยพะเยา ได้ดำเนินการในรูแปบบของการจัดกิจกรรมการประหยัดพลังงานไฟฟ้า โดยทุกปีมหาวิทยาลัยพะเยาจะดำเนินกิจกรรมที่มีชื่อว่า 30+ UP Save energy ปิดไฟ 30 นาที ช่วยประหยัดพลังงาน ซึ่งเป็นกิจกรรมรณรงค์ให้หน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยพะเยา ปิดไฟในช่วงเวลา 12.15 – 12.45 น. เพื่อช่วยประหยัดการใช้พลังงานของมหาวิทยาลัยพะเยา ดังแสดงในภาพที่ 9
ภาพที่ 9 ตัวอย่างหน่วยงานของมหาวิทยาลัยพะเยาในการร่วมกิจกรรมประหยัดพลังงาน
EC 5 Element of green building implementation
มหาวิทยาลัยพะเยาได้ดำเนินการส่งแบบแปลนอาคารจำนวน 4 อาคาร เพื่อเข้ารับการตรวจประเมินและรับรองให้เป็นอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ได้แก่ อาคารห้องประชุมและโรงอาหาร, อาคารเรียนรวม 3,600 ที่นั่ง, อาคารเรียนทั่วไป และอาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ซึ่งรับการประเมินและรับรองโดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
EC 6 Climate change adaptation and mitigation program
เนื่องจากเป็นตัวบ่งชี้ใหม่ ข้อมูลที่มียังไม่ได้ดำเนินการวิเคราะห์และจัดเรียง
EC 7a Greenhouse gas emission reduction policy
มหาวิทยาลัยพะเยายังไม่มีนโยบายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นรูปธรรม แต่มีการส่งเสริมให้ทางคณะและวิทยาลัยในการดำเนินกิจกรรม
EC 7b Carbon footprint policy
มหาวิทยาลัยพะเยายังไม่มีนโยบายด้านคาร์บอนฟุตพริ้นโดยตรง
The ratio of total carbon footprint towards campus open space area and population
ยังไม่มีการดำเนินการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นต่อพื้นที่และประชากร